top of page

 

ทำไมเราต้องอนุรักษ์ปลานกแก้ว ?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    งานวิจัยระยะยาวโดยดร.ปีเตอร์ มัมบี้ แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Conservation

Letter (2013) พบว่าแนวปะการังในเขตที่ไม่มีการจับปลา (No-take areas) โดยเฉพาะแนวที่มีจำนวนปลานกแก้ว
อุดมสมบูรณ์สามารถฟื้นตัวจากปรากฎการณ์ฟอกขาวได้เร็วกว่าแนวปะการังอื่นนอกเขตอนุรักษ์ถึง 6 เท่า

 

งานวิจัยชื้นนี้ใช้ข้อมูลสถานภาพแนวปะการังและประชากรปลาในเขตอนุรักษ์และนอกเขตอนุรักษ์ ที่ประเทศเบลิซ ในอเมริกากลาง แล้วนำมาทำโมเดลพยากรณ์การฟื้นตัวของปะการังในระยะยาว ผลปรากฎว่าแนวปะการังนอกเขต

อนุรักษ์ที่มีกิจกรรมการประมงมีโอกาสฟื้นตัวภายในปี 2030 เพียง 12% เท่านั้น ในขณะที่ภายในเขตอนุรักษ์ที่ยังมีประชากรปลานกแก้วมีโอกาสฟื้นตัวสูงถึง 79% หรือสูงกว่า 6 เท่า ในกรณีที่ปะการังไม่ฟื้นตัวนานๆ ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่แนวปะการังบริเวณนั้นจะเสื่อมโทรมและอาจเปลี่ยนผ่านกลายเป็นระบบนิเวศที่มีสาหร่ายขึ้นคลุมแทนที่

 

  ผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า
"ปลานกแก้วทุกตัวมาจากการประมงที่ผิดกฎหมาย" ดร.ธรณ์ ฟันธง ทั้งนี้เพราะปลานกแก้วมีถิ่นอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และแนวปะการังแทบทั้งหมดในประเทศไทยมีกฎหมายคุ้มครอง

 

 "แนวปะการังมากกว่าครึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกฎหมายอุทยานแห่งชาติ คงไม่ต้องพูดถึงว่าทำการประมง
ได้หรือเปล่า ขนาดเก็บหินยังไม่ได้เลย แล้วแนวปะการังที่อื่นๆ อย่างภูเก็ต กระบี่ หรือแม้กระทั่งเกาะล้านก็มีกฎหมาย
สิ่งแวดล้อมที่จังหวัดประกาศออกมาว่าเป็นเขตคุ้มครองห้ามจับสัตว์น้ำ เพราะฉะนั้นเรียกว่าแนวปะการังเกือบทั้งหมด
ในประเทศไทยเป็นเขตคุ้มครอง ซึ่งปลานกแก้วมันอาศัยอยู่เฉพาะในแนวปะการัง เราไม่เจอปลานกแก้วตามป่าชาย
เลนหรือทะเลทั่วไป ดังนั้นแม้ว่าการจับปลานกแก้วจะไม่ผิดกฎหมาย แต่พื้นที่ที่ปลานกแก้วอยู่อาศัยเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตคุ้มครองห้ามจับสัตว์น้ำ" อ. ธรณ์ อธิบาย

 

    ปลานกแก้วที่วางขายอยู่ตามตลาดปลาหรือแม้แต่ซุปเปอร์มาเก็ตใหญ่ๆ จึงมีที่มาแบบไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
ถึงอย่างนั้นด้วยช่องโหว่เล็กๆ ของกฎหมายที่ไม่สามารถเอาผิดผู้ขายปลานกแก้วได้ พวกมันจึงได้ไปอวดโฉมอยู่ตามที่ต่างๆ แทนที่จะเป็นในทะเล และเมื่อสอบถามพ่อค้าหัวใสบางรายก็จะบอกว่าเป็น "ปลาเลี้ยง"

 

"มันไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจหลักๆ เหมือนปลากระพงหรืออะไร เรื่องของการศึกษาในการเพาะเลี้ยงมันก็ไม่มี แล้วมันก็เป็นปลาที่ต้องอยู่ในแนวปะการัง กินพวกสาหร่ายและปะการังตาย เป็นปลาที่ใช้พื้นที่ในการหากินเยอะ ทำให้การเพาะเลี้ยงนั้นยากมาก"

 

  อ.ธรณ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ปลานกแก้ว เป็นปลากินพืชในแนวปะการังที่โดดเด่นกว่าปลาอื่นๆ ตรงที่นอกจากมันจะช่วยกินสาหร่ายแล้ว ยังกินซากปะการังตายและถ่ายออกมาเป็นทราย

"ทรายพวกนี้ก็จะสะสมอยู่ในแนวปะการัง อย่าลืมว่าแนวปะการังถ้าไม่มีทรายก็พัง ข้อที่สองทรายพวกนั้นก็จะเข้ามาเติมทรายที่ชายหาดด้วย ชายหาดก็จะมีสีขาวสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยว อย่างที่เกาะตาชัย เกาะสิมิลัน ทรายพวกนั้นก็มีส่วนหนึ่งมาจากปลานกแก้ว ซึ่งอันนี้เป็นกรณีพิเศษ เพราะมีปลานกแก้วกลุ่มเดียวเท่านั้นที่กินซากปะการังที่ตายแล้วและช่วยเติมทรายให้แนวปะการัง ตรงนี้สำคัญ"

 

   ปลานกแก้วเป็นกลุ่มปลากินพืชที่หากินโดยการครูดกินตามพื้นผิว (grazer) โดยเฉพาะสาหร่ายที่มักจะขึ้นคลุมแนวปะการังหลังปะการังตายลงเนื่องจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวหรือภัยคุกคามอื่นๆ ปลานกแก้วทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้พื้นผิวบริเวณแนวปะการังเปลี่ยนสภาพและถูกขึ้นคลุมด้วยสาหร่าย ตัวอ่อนปะการังจึงสามารถลงเกาะและเติบโตขึ้นใหม่ได้  แนวปะการังที่มีปลานกแก้วชุกชุมจึงมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าและเร็วกว่าแนวปะการังที่ปล่อยให้มีการประมงเกิดขึ้น เราช่วยฟื้นฟูปะการังแหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์น้ำและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญได้ง่ายๆด้วยการไม่จับและไม่บริโภคปลานกแก้ว เขตอนุรักษ์ที่มีการควบคุมกิจกรรมประมงอย่างจริงจัง จึงเป็นความหวังสำคัญในการฟื้นฟูปะการังตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในภาวะที่ระบบนิเวศที่เปราะบางประเภทนี้ต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนและปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวที่เป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงกว่าในอดีตอย่างมาก 

bottom of page